10/15/2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สิ่งที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้การประพฤติปฏิบัติตนเวลาทำงานร่วม

กับผู้อื่นและการปฏิบัติตนต่อหัวหน้างานหรือผู้ที่มีตำแหน่ง

ที่สูงกว่าการแต่งกายการพูดจาการวางท่าทางในการพบเจอ

หรือการพูดคุยทำให้เราได้พัฒนาบุคลิกภาพไปในตนเอง

อีกด้วยและยังสามารถทำให้เรามีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

และมีความเป็นมิตรกับผู้พบเจอ รวมทั้งในการทำโครงการ

ได้ทำให้รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและอาจจะมีการเพิ่มเติม

เสริมแต่งไปในการทำโครงการในแต่ละครั้งที่เราคิดจะทำ

อีกด้วยทั้งนี้ทั้งนั้นเวลาในการทำโครงการนั้นถ้าไม่ร่วมช่วย

กันทำงานก็จะไม่เสร็จถ้ามัวแต่เกี่ยงกันทำงานทั้งนี้อาจจะ

เกิดปัญหาทุกเมื่อเวลาไปทำงานกับผู้อื่นเราไม่ควรที่จะแบ่ง

แยกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยถ้าเราทำโครงการใหญ่ควรที่จะ

ร่วมมือช่วยกันทำให้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยและเนื่องจาก

ก่อนจะปิดคอสในการเรียนการสอนนั้นได้มีพระอาจารย์

จาก ธรรมะ เดลิเวอรี่ มาให้คติสอนใจเวลาเราไปทำงาน

หรือเวลาเราเรียนหนังสือหรือแล้วแต่ช่วงที่เราได้ทำกิจกรรม

ทั้งนี้ให้ทั้งข้อคิดและคติทำให้เรามีสติเสมอเวลาที่ต้องการจะ

ทำสิ่งนั้นๆ การได้เรียนวิชานี้ทำให้รู้สึกมีความเป็นระเีบียบและ

ใจเย็นรอบคอบขึ้นได้ และยังมีบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย

10/14/2552

DTS08-08/09/2552

เรื่อง กราฟ

กราฟ (Graph) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้น อีกชนิดหนึ่ง กราฟเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีการนำไปใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนเช่น การวางข่าย งานคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤติ และปัญหาเส้นทางที่สั้นที่สุด

กราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นที่ประกอบ ด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่งคือ
(1) โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์(Vertexes)
(2) เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges)กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนดถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่ากราฟแบบไม่มีทิศทาง (Undirected Graphs)และถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบมีทิศทาง(Directed Graphs)
บางครั้งเรียกว่า ไดกราฟ (Digraph)ถ้าต้องการอ้างถึงเอ็จแต่ละเส้นสามารถเขียนชื่อเอ็จกำกับไว้ก็ได้

เทคนิคการท่องไปในกราฟมี 2 แบบดังนี้
1. การท่องแบบกว้าง (Breadth First Traversal)
2. การท่องแบบลึก (Depth First Traversal)

กราฟ มีน้ำหนัก หมายถึง กราฟที่ทุกเอดจ์ มีค่าน้ำหนักกำกับ ซึ่งค่าน้ำหนักอาจสื่อถึงระยะทาง เวลา ค่าใช้จ่าย เป็นต้

9/05/2552

DST 07-01-09-09

ต่อเนื่้องจากครั้งที่ DTS 06-25-08-09
6. ระดับของโหนด (Level of Node) คือระยะทางในแนวดิ่งของโหนดนั้น ๆ ที่อยู่ห่างจากโหนด
ราก เมื่อกำหนดให้ โหนดรากของทรีนั้นอยู่ระดับ 1และกิ่งแต่ละกิ่งมีความเท่ากันหมด คือ ยาว
เท่ากับ 1หน่วย ซึ่งระดับของโหนดจะเท่ากับจำนวนกิ่งที่น้อยที่สุดจากโหนดรากไปยังโหนดใด ๆ
บวกด้วย 1และจำนวนเส้นทางตามแนวดิ่งของโหนดใด ๆ ซึ่งห่างจากโหนดราก เรียกว่า ความสูง
(Height) หรือความลึก (Depth)
ไบนารีเซิร์ชทรี
ไบนารีเซิร์ชทรี (Binary Search Tree)เป็นไบนารีทรีที่มีคุณสมบัติที่ว่าทุก ๆ โหนดในทรี
ค่าของโหนดรากมีค่ามากกว่าค่าของทุกโหนดในทรีย่อยทางซ้าย และมีค่าน้อยกว่า
หรือเท่ากับค่าของทุกโหนดในทรีย่อยทางขวาและในแต่ละทรีย่อยก็มี คุณสมบัติเช่นเดียวกัน
กราฟ (Graph)
เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้น อีกชนิดหนึ่ง กราฟเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีการนำไปใช้ในงาน
ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนเช่น การวางข่าย งานคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์เส้นทาง
วิกฤติ และปัญหาเส้นทางสั้นที่สุด เป็นต้น
นิยามของกราฟ
กราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นที่ประกอบ ด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่งคือ
(1) โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์(Vertexes)
(2) เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges)
กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนดถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่า
กราฟแบบไม่มีทิศทาง (Undirected Graphsและถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่มีลำดับ
ความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบมีทิศทาง(Directed Graphs)
บางครั้งเรียกว่า ไดกราฟ (Digraph)ถ้าต้องการอ้างถึงเอ็จแต่ละเส้นสามารถเขียนชื่อเอ็จกำกับไว้ก็ได้
การเขียนกราฟแสดงโหนดและเส้นเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างโหนดไม่มีรูปแบบที่ตายตัว
การลากเส้นความสัมพันธ์เป็นเส้นลักษณะไหนก็ได้ที่สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหนด
ได้ถูกต้อง นอกจากนี้เอ็จจากโหนดใด ๆ สามารถวนเข้าหาตัวมันเองได้

DTS06-25-08-09

เรื่อง Tree
ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับ
ชั้น (Hierarchical Relationship)ได้มีการนำรูปแบบทรีไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย
ส่วนมากจะใช้สำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเช่น แผนผังองค์ประกอบของหน่วยงานต่าง ๆ
โครงสร้างสารบัญหนังสือ เป็นต้นแต่ละโหนดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมา หนึ่งระดับ
ได้หลาย ๆ โหนดเรียกโหนดดังกล่าวว่า โหนดแม่ (Parent or Mother Node)โหนดที่อยู่ต่ำกว่า
โหนดแม่อยู่หนึ่งระดับเรียกว่า โหนดลูก (Child or Son Node)โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนด
แม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node)นดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings)
โหนดที่ไม่มีโหนดลูก เรียกว่าโหนดใบ (Leave Node)เส้นเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
โหนดสองโหนดเรียกว่า กิ่ง (Branch)
นิยามของทรี
1. นิยามทรีด้วยนิยามของกราฟทรี คือ กราฟที่ต่อเนื่องโดยไม่มีวงจรปิด (loop) ในโครงสร้าง โหนดสอง
โหนดใด ๆ ในทรีต้องมีทางติดต่อกันทางเดียวเท่านั้น และทรีที่มี N โหนด ต้องมีกิ่งทั้งหมด N-1 เส้น
การเขียนรูปแบบทรี อาจเขียนได้ 4
2. นิยามทรีด้วยรูปแบบรีเคอร์ซีฟทรีประกอบด้วยสมาชิกที่เรียกว่าโหนด โดยที่ ถ้าว่าง ไม่มีโหนดใด ๆ เรียกว่า
นัลทรี (Null Tree) และถ้ามีโหนดหนึ่งเป็นโหนดราก ส่วนที่เหลือจะแบ่งเป็นทรีย่อย (Sub Tree)T1, T2, T3,…,Tk
โดยที่ k>=0 และทรีย่อยต้องมีคุณสมบัติเป็นทรี
นิยามที่เกี่ยวข้องกับทรี
1. ฟอร์เรสต์ (Forest)
หมายถึง กลุ่มของทรีที่เกิดจากการเอาโหนดรากของทรีออกหรือ เซตของทรีที่แยกจากกัน
2. ทรีที่มีแบบแผน (Ordered Tree)
หมายถึง ทรีที่โหนดต่าง ๆ ในทรีนั้นมีความสัมพันธ์ที่แน่นอน เช่น ไปทางขวาไปทางซ้าย เป็นต้น
3. ทรีคล้าย (Similar Tree) คือ
ทรีที่มีโครงสร้างเหมือนกัน หรือทรีที่มีรูปร่างของทรีเหมือนกัน โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลที่อยู่ในแต่ละโหนด
4. ทรีเหมือน (Equivalent Tree) คือ
ทรีที่เหมือนกันโดยสมบูรณ์ โดยต้องเป็นทรีที่คล้ายกันและแต่ละโหนดในตำแหน่งเดียวกันมีข้อมูลเหมือนกัน
5. กำลัง (Degree) หมายถึงจำนวนทรีย่อยของโหนด นั้น ๆ
6. ระดับของโหนด (Level of Node) คือระยะทางในแนวดิ่งของโหนดนั้น ๆ ที่อยู่ห่างจากโหนด
ราก เมื่อกำหนดให้ โหนดรากของทรีนั้นอยู่ระดับ 1และกิ่งแต่ละกิ่งมีความเท่ากันหมด คือ ยาวเท่ากับ 1หน่วย
ซึ่งระดับของโหนดจะเท่ากับจำนวนกิ่งที่น้อยที่สุดจากโหนดรากไปยังโหนดใด ๆ บวกด้วย 1และจำนวนเส้นทาง
ตามแนวดิ่งของโหนดใด ๆ ซึ่งห่างจากโหนดราก เรียกว่า ความสูง (Height) หรือความลึก (Depth)

8/04/2552

DTS 05-28/07/09

โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์ประกอบด้วย 2 ส่วน
1.Head Structure แบ่งเป็น 3ส่วน
-count เป็นการนับจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ในลิสต์นั้น
-pos พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดที่เข้าถึง
-head พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดแรกของลิสต์
2.Data Node Structure จะประกอบด้วย ข้อมูลและพอยเตอร์ที่ชี้ไปโหนดถัดไป

การเพิ่มข้อมูลลงไปในลิงค์ลิสต์นั้น จากที่ Head Structure ในส่วนของ count จะมีค่าเป็น 0 นั้นหมายถึงในลิสต์นั้นยังไม่มีข้อมูลใดเลย ส่วน head จะมีเครื่องหมายกากบาท นั้นหมายถึงในลิสต์นั้นไม่มีการเชื่อมโยงไปยังข้อมูลแรก แต่ถ้าต้องการเพิ่มข้อมูลลงไปในลิสต์ Data Node ในส่วนของข้อมูล (Data)จะมีค่าเก็บอยู่ แล้ว count ก็จะเปลี่ยนค่าจาก 0 เป็น 1 คือ การบ่งบอกถึงจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ในลิสต์นั้น แล้ว head ก็จะชี้ไปยังข้อมูล (Data) ตัวแรกของลิสต์ ส่วนพอยเตอร์ที่ชี้ไปโหนดถัดไปจะเป็นเครื่องหมายกากบาทแทน

การลบข้อมูลในลิงค์ลิสต์ ถ้าต้องการลบข้อมูลตัวใดในลิสต์สามารถลบได้เลย แต่ต้องเปลี่ยน head เพื่อชี้ไปยังข้อมูลตัวแรกของลิสต์กรณีที่ลบข้อมูลตัวแรกออก แล้ว link คือ เมื่อลบข้อมูลตัวใดออกควรชี้ link ถัดไปให้ถูกต้องด้วย

การบ้าน

#include <iostream.h>
#include <conio.h>
void main()
{ clrscr(); //clear screen
cout<< "Hello Program C++" << '\n'; //new line
cout<< "\t\tC++ is very interest language \n"; // 2 tab and newline
cout<< "\tC++ is OOP Language\b \n"; //tab, backspace and new line
getch(); //wait for press any key
}

7/15/2552

RECORD DTS 03 14/07/2552

โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต
เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน
ในภาษาซีจะไม่มีประเภทข้อมูลแบบเซ็ตนี้เหมือนกับในภาษาปาสคาล
แต่สามารถใช้หลักการของการดำเนินงานแบบเช็ตมาใช้ได้

วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น
- จะต้องกำหนดเซ็ตของผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละวิชา
- นำเซ็ตดังกล่าวที่ได้มาทำการ intersection กัน หากมีเซ็ตใดที่

ทำการ intersect กันแล้ว มีข้อมูลสมาชิกในเซ็ตที่ซ้ำกันอยู่
จะไม่สามารถจัดให้วิชาดังกล่าวอยู่ในวันเวลาเดียวกันได้ตัวอย่างดังกล่าว
เป็นการนำแนวความคิดเรื่องการจัดการแบบเช็ตมาประยุกใช้งานโครงสร้างข้อมูลแบบสตริงสตริง (String)
หรือ สตริงของอักขระ (CharacterString) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย
ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป
รวมทั้งช่องว่างการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริงมีการ
นำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาธิการข้อความ(text editor) หรือโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ
(wordprocessing) ซึ่งมีการทำงานที่อำนวยความสะดวกหลายอย่างเช่น การตรวจสอบข้อความ
การจัดแนวข้อความในแต่ละย่อหน้า และการค้นหาคำ เป็นต้น

การกำหนดค่าคงตัวสตริงสามารถกำหนดได้ทั้งนอกและในฟังก์ชัน เมื่อกำหนดไว้นอกฟังก์ชัน
ชื่อค่าคงตัวจะเป็นพอยเตอร์ชี้ไปยังหน่วยความจำที่เก็บสตริงนั้น เมื่อกำหนดไว้ในฟังก์ชัน
จะเป็นพอยเตอร์ไปยังหน่วยความจำที่เก็บตัวมันเอง

การกำหนดค่าให้กับสตริงนั้น เราจะใช้เครื่องหมาย doublequote (“ ”) เช่น “abc” คือ ชุดของอักขระที่มีขนาด 4 (รวม \0 ด้วย)
ข้อสังเกต
string constant are different from character constant
#define NME “Semi”
main ( ){
char *cpntr;cpntr=NME;
printf(“con\n”);printf(“%s, %u, %c\n”, “con”, “duc”,*“tor”);
printf(““%s, %u, %c\n”, NME, NME,*NME);
printf(““%s, %u, %c\n”, cpntr, cpntr,*cpntr);
}

ผลการรันโปรแกรม
con
con, 37, t
Semi, 16, S
Semi, 16, S

การกำหนดค่าคงตัวสตริงให้แก่ตัวแปรพอยต์เตอร์และอะเรย์สามารถกำหนดค่าคงตัวสตริง
ให้พอยเตอร์หรืออะเรย์ได้ในฐานะค่าเริ่มต้น

เช่น main ( ) {
char ary[ ] = “This is the house. ”;
char *cpntr=“This is the door.”;
printf(“%s %s”,ary,cpntr);

ผลการรันโปรแกรมจะเห็นได้ว่าการใช้งานดูไม่แตกต่างกัน
แต่ aryเป็นตัวแปรอะเรย์ ค่าที่ให้จะต้องเป็นค่าข้อมูลในอะเรย์ส่วน cpntr
เป็นพอยเตอร์ ค่าที่ให้นั้นไม่ใช่ค่าข้อมูล แต่เป็นค่าแอดเดรสเริ่มต้นของสตริง
(ค่าคงตัวสตริงเป็นทั้งข้อมูลสตริงและพอยเตอร์) นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มลดค่า
ตัวแปรพอยเตอร์ได้ แต่สำหรับอะเรย์ทำไม่ได้

การกำหนดตัวแปรสตริงในการกำหนดตัวแปรของสตริง
อาศัยหลักการของอะเรย์ เพราะ สตริงก็คืออะเรย์ของอักขระที่ปิดท้ายด้วย
null character (\0) และมีฟังก์ชันพิเศษสำหรับทำงานกับสตริงโดยเฉพาะ
เช่นต้องการสตริงสำหรับเก็บชื่อบุคคลยาวไม่เกิน 30อักขระ
ต้องกำหนดเป็นอะเรย์ขนาด 31 ช่อง เพื่อเก็บ null character อีก 1 ช่อง

main ( ) {char name[31];
printf(“Hi, What’s your name?\n”);
gets(name);
printf(“Nice to meet you, %s\n”);
}

ผลการรันโปรแกรม
Hi, What’s your name?
Jame Smith
Nice to meet you, Jame Smith

6/30/2552

RECORD DTS 03 30/06/2552

สรุปบทเรียน Array and Record

ใน การเรียนครั้งนี้ได้รู้ถึงความหมายของอะเรย์ที่เป็นโครงสร้างที่เรียกว่า Linear List
มีลักษณะคล้ายเซ็ตในคณิตศาสตร์ คือ อะเรย์จะประกอบด้วยสมาชิกที่มีจำนวนคงที่
มีรูปแบบข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน สมาชิกแต่ละตัวใช้เนื้อที่จัดเก็บที่มีขนาดเท่ากัน
เรียงต่อเนื่องในหน่วยความจำหลัก

เรื่องแถวลำดับและระเบียนข้อมูล
- ได้รู้ถึงการดำเนินการเกี่ยวกับอะเรย์ 1 มิติ และหลายมิติ
- การกำหนดค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด
- การส่งค่าของอะเรย์ในโปรแกรม และฟังก์ชัน
- การประกาศอาร์กิวเมนต์ในฟังก์ชันเป็นอะเรย์
- การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเรคคอร์ด
- ความสัมพันธ์ระหว่างเรคคอร์ดกับอะเรย์ และชนิดโครงสร้าง
และทำให้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับArray กับ Structure

Structure โครงสร้างข้อมูลหมายถึง การที่นำข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น
ข้อมูลของนักศึกษาที่อาจประกอบด้วยชื่อ,นามสกุล,อายุ,เพศ,ชั้นเรียน
มารวมกันและจัดทำเป็นโครงสร้างข้อมูล แต่ในการเรียนใช้งานจริง ๆ
เราจะต้องสร้างตัวแปรชนิดโครงสร้างขึ้นมาใช้งานจริง ๆไม่สามารถใช้โครงสร้าง
student ได้การประกาศตัวแปรชนิดโครงสร้าง

struct name {
type var-1;
type var-2;
.....
type var-n;
} struct-variable;

6/29/2552

สิ่งที่ฉันปรารถนา

VDO แนะนำค่ะ ^^

RECORD DTS 02 23/06/2552


สรุปบทเรียน


ประเภทของโครงสร้างข้อมูล


1.โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ( Physical Data Struture )

มี 1.ข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ จำนวนเต็ม( Integer )จำนวนจริง

(Real)และอักขระ( Character ) และ 2. ข้อมูลโครงสร้าง

ได้แก่ แถวลำดับ (Array)ระเบียนข้อมูล(Record)และแฟ้มข้อมูล

(Flie)2.โครงสร้างทางตรรกะ (Logial Data Struture)มี

1.โครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้น(Linear Data Struture)

เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลจะเรียงต่อเนื่องกัน ได้แก่

ลิสต์(List)สแตก(Stack)คิว(Queue) สตริง (String)

เป็นต้น2.โครงสร้างข้อมูลแบบไม่เชิงเส้น( Non-Linear

Data Struture )ข้อมูลแต่ละตัวมีความสัมพันธ์กับข้อมูล

อื่นได้หลายตัวได้แก่ทรี(Tree)และกราฟ (Graph)และ

ทั้ง 2 แบบ มีลักษณะโครงสร้างที่แตกต่างกันขึ้นอยู่ที่

การเลือกใช้กัน 3.การแทนที่ข้อมูลด้วยหน่วยความจำหลักมี

ทั้งแบบสแตติกกับแบบไดนามิกแบบสแตติกจะมีการจอง

เนื้อที่แบบคงที่แน่นอน ทำให้เปลืองเนี้อที่แต่สำหรับ

แบบไดนามิกนั้นสามารถแบ่งเนื้อที่ได้ เมื่อไม่ได้

ใช้เนี้อที่นั้นจะสามารถแบ่งเนื้อที่เพื่อใช้ในงานอื่นๆได้

4.ขั้นตอนวิธีเป็นการแก้ปัญหาอย่างมีระบบมีการลำดับ

ขั้นตอนตั้งแต่ต้ยจนได้ผลลัพธ์ขั้นตอนวิธีที่ใช้ต้องสั้น

กระชับ และรัดกุม ง่ายต่อการเข้าใจ



ภาษาขั้นตอนวิธี(Algorithm Language)เป็นภาษาสำหรับเขียน

ขั้นตอนวิธีมีรุปแบบที่สั้น กระชับและรัดกุมและมีข้อกำหนด


1.การรับค่าที่ต่างกัน แทนด้วยต้วอักษรหรือผสมกับตัวเลข

2.กำหนดค่าให้ตัวแปร ใช้เครื่องหมาย

3.นิพจน์ที่เป้นตรรกศาตร์ จะใช้เครื่องหมมายเปรียบเทียบลำดับขั้น

ของการคำนวณ



การบ้าน


#include <stdio.h>
#include <string.h>

void main()

{

struct clock {

char name[30];

char serie[30];

char collection[20];

char gender[10];

char style[15];

int born;

int case_width ;

float case_thick;

int case_dimension;

char buy[10];

}
funny ;
strcpy(funny.name,"CARTIER");
strcpy(funny.serie,"Santos Dumont");
strcpy(funny.collection,"Santos");
strcpy(funny.gender,"women's");
strcpy(funny.style,"dress");
funny.born=1904;
funny.case_width=20;
funny.case_thick=5.7;
funny.case_dimension=20;
strcpy(funny.buy,"115,894");

printf("*****Clock_Santos*****\n\n");
printf(" Name : %s\n\n",funny.name);
printf(" Serie : %s\n\n",funny.serie);
printf(" Collection : %s\n\n",funny.collection);
printf(" Gender : %s\n\n",funny.gender);
printf(" Style : %s\n\n",funny.style);
printf(" Born : %d\n\n",funny.born);
printf(" Case_Width : %d\n\n",funny.case_width);
printf(" Case_Thick : %.1f\n\n",funny.case_thick);
printf(" Case_Dimension: %d\n\n",funny.case_dimension);
printf(" Buy : %s\n\n",funny.buy);

6/23/2552

ประวัติ


ชื่อ - สกุล : น.ส.ณัฏฐพร เนียมวงศ์ ชื่อเล่น - ขวัญ

Name : Miss.Nattaporn Niemwong

รหัส : 50132792083

หลักสูตร การบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

E-mail : u50132792083@gmail.com